วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ศาสนาอิสลาม



ศาสนาอิสลาม เป็นศาสนาสำคัญ ศาสนาหนึ่งของโลก มีคนนับถือประมาณ 1,600 ล้านคน นับว่ามีจำนวนมากที่สุดเป็นอันดับสองในโลกได้ชื่อว่าเป็นศาสนาแห่งสันติ พื้นที่รวมของกลุ่มประเทศมุสลิมทั้งหมดประมาณ 34,722,286 ตารางกิโลเมตร ตั้งแต่ลองจิจูด 141 องศาตะวันออก ทางด้านตะวันออกของเขตพรมแดนประเทศอินโดนีเซีย ทอดยาวไปจนถึงลองจิจูด 17.29 องศาตะวันตก ณ กรุงดาการ์ ประเทศเซเนกัล (Senegal) ซึ่งอยู่ในภาคตะวันตกของทวีปแอฟริกา จนถึงละติจูด 55.26 องศาเหนือ บริเวณเส้นเขตแดนตอนเหนือของประเทศคาซัคสถาน ทอดยาวเรื่อยไปจนถึงเส้นเขตแดนทางตอนใต้ของประเทศแทนซาเนีย ที่ละติจูด 11.44 องศาใต้

ในโลกของเรานี้มีจำนวนประเทศกว่า 200 ประเทศ เป็นประเทศมุสลิมกว่า 67 ประเทศ ในประเทศไทยมีศาสนาอิสลามเข้ามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ศาสดาของศาสนาอิสลามคือ มุฮัมหมัด

ศาสนาอิสลาม คือ ความศรัทธา ข้อบัญญัติเกี่ยวกับการปฏิบัติและจริยธรรม ซึ่งบรรดาศาสดา ที่อัลลอฮฺ ได้ประทานลงมาเป็นผู้นำ เพื่อมาสั่งสอนและแนะนำแก่มวลมนุษยชาติ สิ่งทั้งหมดเหล่านี้เรียกว่า ดีน หรือ ศาสนา นั่นเอง ผู้ที่มีความศรัทธาจะตระหนักอยู่เสมอว่า ชีวิตของเขาได้พันธนาการเข้ากับอำนาจสูงสุดของพระผู้ทรงสร้างโลก ในทุกสถานภาพของเขาจะรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้า และมอบหมายตนเองให้อยู่ภายใต้การคุ้มครองของพระองค์ตลอดเวลา เขาเป็นผู้มีจิตใจมั่นคงและมีสมาธิเสมอ
เนื้อหา


* 1 ความหมายของ อิสลาม
* 2 หลักคำสอน
o 2.1 หลักการศรัทธา
+ 2.1.1 หลักศรัทธาอิสลามแนวซุนนีย์
+ 2.1.2 หลักศรัทธาอิสลามแนวชีอะหฺ
o 2.2 หลักจริยธรรม
o 2.3 หลักการปฏิบัติ
* 3 ศาสนวินัย นิติศาสตร์และการพิพากษา
o 3.1 ฐานบัญญัติอิสลาม (รุกุน) ของซุนนีย์
o 3.2 ฐานบัญญัติอิสลาม (รุกุน) ของชีอะฮฺ
o 3.3 กฎบัญญัติห้ามในอิสลาม (ฮะรอม) ในซุนนีย์และชีอะฮฺ
* 4 ข้อโต้แย้งที่เกี่ยวกับบทวิจารณ์เกี่ยวกับอิสลาม ในมุมมองของอิสลาม
* 5 หมายเหตุ
* 6 อ้างอิง
* 7 แหล่งข้อมูลอื่น

ความหมายของ อิสลาม

อิสลามคือรูปแบบการดำเนินชีวิตทีถูกกำหนดโดยผู้ที่รู้กึ๋นของมนุษมากที่สุดก็คือผู้สร้าง..อัลลอฮฺ

คำว่า อัลลอฮฺ แปลว่า พระเจ้า ซึ่งเป็นคำเรียกเฉพาะที่แยกออกจากคำในภาษาอาหรับอื่นๆที่มีความหมายว่า พระเจ้า

อิสลาม เป็นคำภาษาอาหรับ (ภาษาอาหรับ: الإسلام) แปลว่า การสวามิภักดิ์ ซึ่งหมายถึงการสวามิภักดิ์อย่างบริบูรณ์แด่ อัลลอฮฺ พระผู้เป็นเจ้า ด้วยการปฏิบัติตามคำบัญชาของพระองค์ อิสลาม มีรากศัพท์มาจากคำว่า อัส-สิลมฺ หมายถึง สันติ โดยนัยว่าการสวามิภักดิ์ต่อพระผู้เป็นเจ้าจะทำให้มนุษย์ได้พบกับสันติภาพ ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า ศาสนาอิสลามเป็นศาสนามนุษยชาติตลอดกาล ตั้งแต่แรกเริ่มของการกำเนิดของมนุษย์จนถึงปัจจุบันและอนาคต

บรรดาศาสนทูตในอดีตล้วนแต่ได้รับมอบหมายให้สอนศาสนาอิสลามแก่มนุษยชาติ ศาสนทูตท่านสุดท้ายคือมุฮัมหมัด บุตรของอับดุลลอฮฺ บินอับดิลมุฏฏอลิบ จากเผ่ากุเรชแห่งอารเบีย ได้รับมอบหมายให้เผยแผ่สาส์นของอัลลอหฺในช่วงปี ค.ศ. 610 - 632 เฉกเช่นบรรพศาสดาในอดีต โดยมี มะลักญิบรีล เป็นสื่อระหว่างอัลลอฮฺพระผู้เป็นเจ้าและมุฮัมมัด

พระโองการแห่งพระผู้เป็นเจ้าที่ทะยอยลงมาในเวลา 23 ปี ได้รับการรวบรวมขึ้นเป็นเล่มมีชื่อว่า อัล-กุรอาน ซึ่งเป็นธรรมนูญแห่งชีวิตมนุษย์ เพื่อที่จะได้ครองตนบนโลกนี้อย่างถูกต้องก่อนกลับคืนสู่พระผู้เป็นเจ้า

สาส์นแห่งอิสลามที่ถูกส่งมาให้แก่มนุษย์ทั้งมวลมีจุดประสงค์หลัก 3 ประการคือ:

1. เป็นอุดมการณ์ที่สอนมนุษย์ให้ศรัทธาในอัลลอหฺ พระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว ที่สมควรแก่การเคารพบูชาและภักดี ศรัทธาในความยุติธรรมของพระองค์ ศรัทธาในพระโองการแห่งพระองค์ ศรัทธาในวันปรโลก วันซึ่งมนุษย์ฟื้นคืนชีพอีกครั้งเพื่อรับการพิพากษา และรับผลตอบแทนของความดีความชั่วที่ตนได้ปฏิบัติไปในโลกนี้ มั่นใจและไว้วางใจต่อพระองค์ เพราะพระองค์คือที่พึ่งพาของทุกสรรพสิ่ง มนุษย์จะต้องไม่สิ้นหวังในความเมตตาของพระองค์ และพระองค์คือปฐมเหตุแห่งคุณงามความดีทั้งปวง
2. เป็นธรรมนูญสำหรับมนุษย์ เพื่อให้เกิดความสงบสุขในชีวิตส่วนตัว และสังคม เป็นธรรมนูญที่ครอบคลุมทุกด้าน ไม่ว่าในด้านการปกครอง เศรษฐกิจ หรือนิติศาสตร์ อิสลามสั่งสอนให้มนุษย์อยู่กันด้วยความเป็นมิตร ละเว้นการรบราฆ่าฟัน การทะเลาะเบาะแว้ง การละเมิดและรุกรานสิทธิของผู้อื่น ไม่ลักขโมย ฉ้อฉล หลอกลวง ไม่ผิดประเวณี หรือทำอนาจาร ไม่ดื่มของมึนเมาหรือรับประทานสิ่งที่เป็นโทษต่อร่างกายและจิตใจ ไม่บ่อนทำลายสังคมแม้ว่าในรูปแบบใดก็ตาม
3. เป็นจริยธรรมอันสูงส่งเพื่อการครองตนอย่างมีเกียรติ เน้นความอดกลั้น ความซื่อสัตย์ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ความเมตตากรุณา ความกตัญญูกตเวที ความสะอาดของกายและใจ ความกล้าหาญ การให้อภัย ความเท่าเทียมและความเสมอภาคระหว่างมนุษย์ การเคารพสิทธิของผู้อื่น สั่งสอนให้ละเว้นความตระหนี่ถี่เหนียว ความอิจฉาริษยา การติฉินนินทา ความเขลาและความขลาดกลัว การทรยศและอกตัญญู การล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น

อิสลามเป็นศาสนาของพระผู้เป็นเจ้าที่เป็นทางนำในการดำรงชีวิตทุกด้าน แก่มนุษย์ทุกคน ไม่ยกเว้น อายุ เพศ เผ่าพันธ์ วรรณะ หรือฐานันดร

หลักคำสอน

หลักคำสอนของศาสนาอิสลามแบ่งไว้ 3 หมวดดังนี้

1. หลักการศรัทธา
2. หลักจริยธรรม
3. หลักการปฏิบัติ

หลักการศรัทธา

อิสลามสอนว่า ถ้าหากมนุษย์ พิจารณาด้วยสติปัญญาและสามัญสำนึกจะพบว่า จักรวาลและมวลสรรพสิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ มิได้อุบัติขึ้นมาด้วยตัวเอง เป็นที่แน่ชัดว่า สิ่งเหล่านี้ได้ถูกอุบัติขึ้นมาโดยพระผู้สร้าง ด้วยอำนาจและความรู้ที่ไร้ขอบเขต ทรงกำหนดกฎเกณฑ์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไว้ทั่วทั้งจักรวาล ทรงขับเคลื่อนจักรวาลด้วยระบบที่ละเอียดอ่อน ไม่มีสรรพสิ่งใดถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร้สาระ

พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงเมตตา ทรงสร้างมนุษย์ขึ้นมาอย่างประเสริฐจะเป็นไปได้อย่างไร ที่พระองค์จะปล่อยให้มนุษย์ดำเนินชีวิตอยู่ไปตามลำพัง โดยไม่ทรงเหลียวแล หรือปล่อยให้สังคมมนุษย์ดำเนินไปตามยถากรรมของตัวเอง

พระองค์ทรงขจัดความสงสัยเหล่านี้ ด้วยการประทานกฎการปฏิบัติต่าง ๆ ผ่านบรรดาศาสดา ให้มาสั่งสอนและแนะนำมนุษย์ไปสู่การปฏิบัติ สำหรับการดำเนินชีวิต แน่นอนมนุษย์อาจมองไม่เห็นผล หรือได้รับประโยชน์จากการทำความดี หรือได้รับโทษจากการทำชั่ว ของตน

จากจุดนี้ทำให้เข้าใจได้ทันทีว่า ต้องมีสถานที่อื่นอีก อันเป็นสถานที่ตรวจสอบการกระทำของมนุษย์ อย่างละเอียดถี่ถ้วน ถ้าเป็นความดีพวกเขาจะได้รับรางวัลเป็นผลตอบแทน แต่ถ้าเป็นความชั่วกจะถูกลงโทษไปตามผลกรรมนั้น ศาสนาได้เชิญชวนมนุษย์ไปสู่หลักการศรัทธา และความเชื่อมั่นที่สัตย์จริง พร้อมพยามผลักดันมนุษย์ ให้หลุดพ้นจากความโง่เขลาเบาปัญญา

หลักศรัทธาอิสลามแนวซุนนีย์

1. ศรัทธาว่าอัลลอฮฺเป็นพระเจ้า
2. ศรัทธาในบรรดาคัมภีร์ต่าง ๆ ที่อัลลอหฺประทานลงมาในอดีต เช่น เตารอต อินญีล ซะบูร และอัลกุรอาน
3. ศรัทธาในบรรดาศาสนทูตต่าง ๆ ที่อัลลอฮฺได้ทรงส่งมายังหมู่มนุษย์ และนบีมุฮัมหมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เป็นศาสนทูตคนสุดท้าย
4. ศรัทธาในบรรดามะลาอิกะฮฺ บ่าวผู้รับใช้อัลลอฮฺ
5. ศรัทธาในวันสิ้นสุดท้าย คือหลังจากสิ้นโลกแล้ว มนุษย์จะฟื้นขึ้น เพื่อรับการตอบสนองความดีความชั่วที่ได้ทำไปบนโลกนี้
6. ศรัทธาในกฎสภาวะ

หลักศรัทธาอิสลามแนวชีอะหฺ

1. เตาฮีด (เอกภาพ) คือศรัทธาว่าอัลลอหฺทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกเหนือจากพระองค์
2. อะดาละฮฺ (ความยุติธรรม) คือศรัทธาว่าอัลลอหฺทรงยุติธรรมยิ่ง
3. นุบูวะฮฺ (ศาสดาพยากรณ์) คือศรัทธาว่าอัลลอหฺได้ทรงส่งศาสนทูตต่าง ๆ ที่อัลลอหฺได้ทรงส่งมายังหมู่มนุษย์ หนึ่งในจำนวนนั้นคือนบีมุฮัมมัด
4. อิมามะฮฺ (การเป็นผู้นำ) ศรัทธาว่าผู้นำสูงสุดในศาสนาจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากศาสนทูตมุ ฮัมมัดเท่านั้น จะเลือกหรือแต่งตั้งกันเองไม่ได้ ผู้นำเหล่านั้น มี 12 คนคือ อะลีย์ บินอะบีฏอลิบและบุตรหลานของอะลีย์ และฟาฏิมะฮฺอีก 11 คน
5. มะอาด (การกลับคืน) วันสิ้นโลกและวันกียามัต ศรัทธาในวันฟื้นคืนชีพ คือหลังจากสิ้นโลกแล้ว มนุษย์จะฟื้นขึ้น เพื่อรับการตอบสนองความดีความชั่วที่ได้ทำไปบนโลกนี้

หลักจริยธรรม

ศาสนาสอนว่า ในการดำเนินชีวิตจงเลือกสรรเฉพาะสิ่งที่ดี อันเป็นที่ยอมรับของสังคม จงทำตนให้เป็นผู้ดำรงอยู่ในศีลธรรม พัฒนาตนเองไปสู่การมีบุคลิกภาพที่ดี เป็นคนที่รู้จักหน้าที่ ห่วงใย มีเมตตา มีความรัก ซื่อสัตย์ต่อผู้อื่น รู้จักปกป้องสิทธิของตน ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น เป็นผู้มีความเสียสละไม่เห็นแก่ตัว และหมั่นใฝ่หาความรู้ ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นคุณสมบัติของผู้มีจริยธรรม ซึ่งความสมบูรณ์ทั้งหมดอยู่ที่ความยุติธรรม

หลักการปฏิบัติ

ศาสนาสอนว่า กิจการงานต่าง ๆ ที่จะทำนั้น มีความเหมาะสมกับตนเองและสังคม ขณะเดียวกันต้องออกห่างจากการงานที่ไม่ดี ที่สร้างความเสื่อมเสียอย่างสิ้นเชิง

ส่วนการประกอบคุณงามความดีอื่น ๆ การถือศีลอด การนมาซ และสิ่งที่คล้ายคลึงกับสิ่งเหล่านี้ เป็นการแสดงให้เห็นถึงการเป็นบ่าวที่จงรักภักดี และปฏิบัติตามบัญชาของพระองค์ กฎเกณฑ์และคำสอนของศาสนา ทำหน้าที่คอยควบคุมความประพฤติของมนุษย์ ทั้งที่เป็นหลักศรัทธา หลักปฏิบัติและจริยธรรม

เราอาจกล่าวได้ว่าผู้ที่ละเมิดคำสั่งต่าง ๆ ของศาสนา มิได้ถือว่าเขาเป็นผู้ที่ศรัทธาอย่างแท้จริง หากแต่เขากระทำการต่าง ๆ ไปตามอารมณ์และความต้องการใฝ่ต่ำของเขาเท่านั้น

ศาสนาอิสลามในความหมายของอัล-กุรอานนั้น หมายถึง "แนวทางในการดำเนินชีวิต ที่มนุษย์จะปราศจากมันไม่ได้" ส่วนความแตกต่างระหว่างศาสนากับกฎของสังคมนั้น คือศาสนาได้ถูกประทานมาจากพระผู้เป็นเจ้า ส่วนกฎของสังคมเกิดขึ้นจากความคิดของมนุษย์ อีกนัยหนึ่ง ศาสนาอิสลามหมายถึง การดำเนินของสังคมที่เคารพต่ออัลลอหฺ และเชื่อฟังปฏิบัติตามคำบัญชาของพระองค์

อัลลอห ตรัสเกี่ยวกับศาสนาอิสลามว่า "แท้จริง ศาสนา ณ อัลลอฮฺ คืออิสลาม บรรดาผู้ที่ได้รับคัมภีร์ได้ขัดแย้งกัน นอกจากภายหลังที่ความรู้มาปรากฏแก่พวกเขา ทั้งนี้เนื่องจากความอิจฉาริษยาระหว่างพวกเขา และผู้ใดปฏิเสธโองการต่าง ๆ ของอัลลอหฺ แน่นอน อัลลอหฺทรงสอบสวนอย่างรวดเร็ว (อัลกุรอาน อาลิอิมรอน:19)

ศาสนวินัย นิติศาสตร์และการพิพากษา

1. วาญิบ คือหลักปฏิบัติภาคบังคับที่มุกัลลัฟ (มุสลิมผู้อยู่ในศาสนนิติภาวะ) ทุกคน ต้องปฏิบัติตาม ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามจะต้องถูกลงทัณฑ์ เช่นการปฏิบัติตาม ฐานบัญญัติของอิสลาม (รุกน) ต่าง ๆ การศึกษาวิทยาการอิสลาม การทำมาหากินเพื่อเลี้ยงดูครอบครัว เป็นต้น
2. ฮะรอม คือกฏบัญญัติห้ามที่มุกัลลัฟทุกคนต้องละเว้น ผู้ที่ไม่ละเว้นจะต้องถูกลงทัณฑ์
3. ฮะลาล คือกฏบัญญัติอนุมัติให้มุกัลลัฟกระทำได้ อันได้แก่ การนึกคิด วาจา และการกระทำที่ศาสนาได้อนุมัติให้ เช่น การรับประทานเนื้อปศุสัตว์ที่ได้รับการเชือดอย่างถูกต้อง การค้าขายโดยสุจริตวิธี การสมรสกับสตรีตามกฏเกณฑ์ที่ได้ระบุไว้ เป็นต้น
4. มุสตะฮับ หรือที่เรียกกันติดปากว่า ซุนนะฮฺ (ซุนนะห์, ซุนนัต) คือกฏบัญญัติชักชวนให้มุสลิม และมุกัลลัฟกระทำ หากไม่ปฏิบัติก็ไม่ได้เป็นการฝ่าฝืนศาสนวินัย โดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับหลักจริยธรรม เช่นการใช้น้ำหอม การขริบเล็บให้สั้นเสมอ การนมาซนอกเหนือการนมาซภาคบังคับ
5. มักรูฮฺ คือกฏบัญญัติอนุมัติให้มุกัลลัฟกระทำได้ แต่พึงละเว้น คำว่า มักรูหฺ ในภาษาอาหรับมีความหมายว่า น่ารังเกียจ โดยทั่วไปจะเกี่ยวข้องกับหลักจริยธรรม เช่นการรับประทานอาหารที่มีกลิ่นน่ารังเกียจ การสวมเสื้อผ้าอาภรณ์ที่ขัดต่อกาลเทศะ เป็นต้น
6. มุบาฮฺ คือสิ่งที่กฏบัญญัติไม่ได้ระบุเจาะจง จึงเป็นความอิสระสำหรับมุกัลลัฟที่จะเลือกกระทำหรือละเว้น เช่นการเลือกพาหนะ อุปกรณ์เครื่องใช้ หรือ การเล่นกีฬาที่ไม่ขัดต่อบทบัญญัติห้าม

ฐานบัญญัติอิสลาม (รุกุน) ของซุนนีย์

1. การปฏิญาณตนว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอหฺและมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอหฺ
2. ดำรงการละหมาด วันละ 5 เวลา
3. จ่ายซะกาต
4. ถือศีลอดในเดือนรอมะฎอนทุกปี
5. บำเพ็ญฮัจญ์ หากมีความสามารถ

ฐานบัญญัติอิสลาม (รุกุน) ของชีอะฮฺ

1. ดำรงการนมาซ วันละ 5 เวลา
2. จ่ายซะกาต
3. จ่ายคุมสฺ นั่นคือ จ่ายภาษี 1 ใน 5 ให้แก่ผู้ปกครองอิสลาม
4. บำเพ็ญฮัจญ์ หากมีความสามารถทั้งกำลังกาย และกำลังทรัพย์
5. ถือศีลอดในเดือนรอมะฎอนทุกปี
6. ญิฮาด นั่นคือการปกป้องและเผยแผ่ศาสนาด้วยทรัพย์และชีวิต
7. สั่งใช้ในสิ่งที่ดี
8. สั่งห้ามไม่ให้ทำชั่ว
9. การภักดีต่อบรรดาอิมามอันเป็นผู้นำที่ศาสนากำหนด
10. การตัดขาดจากศัตรูของบรรดาอิมามอันเป็นผู้นำที่ศาสนากำหนด

กฎบัญญัติห้ามในอิสลาม (ฮะรอม) ในซุนนีย์และชีอะฮฺ

1. การตั้งภาคีต่ออัลลอฮฺ
2. การแหนงหน่ายต่อความเมตตาของอัลลอฮฺ
3. การหมดหวังในความเมตตาต่ออัลลอฮฺ
4. การเชื่อว่าสามารถรอดพ้นจากการลงโทษของอัลลอฮฺ
5. การสังหารชีวิตผู้ไม่มีความผิด
6. การเนรคุณต่อมารดาและบิดา
7. การตัดขาดจากญาติพี่น้อง
8. การกินทรัพย์สินของลูกกำพร้าโดยอธรรม
9. การกินดอกเบี้ย
10. การผิดประเวณี
11. การรักร่วมเพศระหว่างชาย
12. การใส่ร้ายผู้บริสุทธิ์ว่าทำผิดประเวณีหรือรักร่วมเพศ
13. การดื่มสุราเมรัยหรือทำการใดที่เกี่ยวข้องกับสุราเมรัย
14. เล่นการพนัน
15. การอยู่กับการละเล่นบันเทิง
16. การฟังหรือขับร้องเพลงและเล่นดนตรี
17. การพูดเท็จ
18. การสาบานเท็จ
19. การเป็นพยานเท็จ
20. การไม่ยอมให้การหรือเป็นพยาน
21. การผิดสัญญา
22. การทำลายไม่รับผิดชอบสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
23. การขโมยลักทรัพย์
24. การหลอกลวง
25. การรับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มที่ได้มาโดยทุจริตวิธี
26. การไม่ยอมจ่ายหนี้หรือเหนี่ยวรั้งทรัพย์สินของผู้อื่น
27. การหนีจากสงครามศาสนา
28. การกลับคืนสู่อวิชชาหลังจากได้เรียนรู้สัจธรรมอิสลามแล้ว
29. การฝักใฝ่กับผู้อธรรม



30. การไม่ช่วยเหลือผู้ถูกอธรรม
31. การเรียนและทำคุณไสย
32. ความฟุ่มเฟือย
33. ความเย่อหยิ่งทรนง
34. การต่อสู้กับศรัทธาชน
35. รับประทานซากสัตว์ เลือด เนื้อสุกร และสัตว์ที่ไม่ได้ถูกเชือดตามหลักศาสนา
36. การละทิ้งการนมาซ (ละหมาด)
37. การไม่จ่ายซะกาต
38. การไม่ใยดีต่อการทำฮัจญ์
39. การละทิ้งกฎบัญญัติศาสนา เช่น การถือศีลอด ญิฮาด การสั่งทำความดี การห้ามทำความชั่ว
40. การทำบาปเล็กบาปน้อยจนเป็นกิจวัตร
41. การนินทากาเล
42. การยุยงให้ผู้คนแตกแยกกัน
43. การวางแผนหลอกลวงผู้อื่น
44. อิจฉาริษยา
45. การกักตุนสินค้าจนทำให้ข้าวยากหมากแพง
46. การตั้งตัวเป็นศัตรูต่อศรัทธาชน
47. การรักร่วมเพศระหว่างหญิง
48. การเป็นแมงดาหรือแม่เล้าติดต่อให้แก่โสเภณี การยินยอมให้ภรรยาและบุตรีผิดประเวณี
49. การสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง (มีทัศนะว่า น่ารังเกียจ)
50. การทำการอุตริในศาสนา
51. การพิพากษาคดีด้วยความฉ้อฉล
52. การทำสงครามในเดือนต้องห้ามทั้งสี่ คือ ซุลกออิดะฮฺ ซุลฮิจญะหฺ มุฮัรรอม และรอญับ นอกจากจะเป็นฝ่ายถูกรุกราน
53. การล่วงละเมิดสิทธิของศรัทธาชนด้วยการล้อเล่น ลบหลู่ ดูหมิ่น เหยียดหยาม ด่าทอ
54. การหักห้ามกีดกันผู้อื่นเข้าสู่สัจธรรม
55. การเนรคุณต่อคุณงามความดีของอัลลอหฺ
56. การก่อเหตุวุ่นวายในสังคม
57. การขายอาวุธแก่ที่ก่อความไม่สงบสุข
58. การใส่ร้ายผู้อื่น
59. การไม่ให้ความเคารพต่ออัลลอฮฺ
60. การลบหลู่ดูหมิ่นต่อกะอฺบะฮฺ
61. การลบหลู่ดูหมิ่นต่อมัสยิด
62. การที่บุรุษสวมใส่ผ้าไหมและผ้าแพร
63. การใช้ภาชนะทำด้วยทองคำและเงิน

* ด้านสิทธิมนุษยชน (Apostasy in Islam) ในมุมมองของคนไม่ใช่มุสลิม กฎหมายอิสลามมีการลงโทษที่รุนแรงเกินโทษที่ควรได้รับ เช่น เรื่องสิทธิสตรี ความถูกเอารัดเอาเปรียบไม่เท่าเทียมกันของทั้งสองเพศ ได้แก่เรื่อง การแต่งงาน , การหย่า ,สิทธิทั่วไป , สิทธิทางกฎหมาย , การแต่งกาย,และโอกาศที่ได้รับในการศึกษา เป็นต้น อีกเรื่องหนึ่งที่ได้รับความสนใจคือ การลงโทษประหารชีวิตพวกรักร่วมเพศในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกามีกฎหมายเรื่อง การสมรสระหว่างเพศเดียวกันได้

ข้อโต้แย้งที่เกี่ยวกับบทวิจารณ์เกี่ยวกับอิสลาม ในมุมมองของอิสลาม

1. อิสลามกับการก่อการร้าย ( Islamic terrorism )....พื้นที่อิสลามส่วนใหญ่จะถูกกดขี่ข่มเหง อาจจะมาจากการแก้แค้น แต่ในบางการกระทำ อาจเป็นกลุ่มคนที่บ่อนทำลายศาสนา โดยอ้างว่า มุสลิมกลุ่มนั้นๆ เป็นผู้กระทำ และในส่วนของคนบางกลุ่มที่อ้างว่ามาจากคำสอนของอิสลาม อาจจะรู้ไม่จริงหรือเป็นกลุ่มคนที่โดนล้างสมองจากคนทีไม่หวังดี

2. เกี่ยวกับคัมภีร์อัลกุรอ่าน (Criticism of the Qur'an) ....คัมภีร์อัลกุรอ่านเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถทำขึ้นเองได้เป็นสิ่งที่ มนุษย์คิดไปไม่ถึงไม่ใช่ว่าไม่จริง สิ่งที่มนุษย์คิดเองขึ้นว่าสิ่งนั้นดีสิ่งนี้ไม่ถูกต้องเอามาเป็นข้อตัดสิน ไม่ได้ และในหัวข้อที่ว่าคัมภีร์อัลกุรอ่านอธิบายปรากฏการณ์ด้านดาราศาสตร์และ กระบวนการวิทยาศาสตร์แบบผิดๆ นั้น มีข้อชี้แจงว่า วิชาดาราศาสตร์และกระบวนการวิทยาศาสตร์ที่มนุษย์คิดค้นไม่ใช้ว่าจะถูกต้อง เสมอไป

3. ด้านสิทธิมนุษยชน (Apostasy in Islam)....อิสลามใช่ว่าไม่ยุติธรรมแต่ในบางเรื่องที่ผู้หญิงทำไม่สมบูรณ์ อย่างเช่นเป็นผู้นำ เนื่องจากผู้หญิงมีการตัดสินใจในเรื่องต่างๆได้ไม่ดีเท่าผู้ชายและในเรื่อง การหย่าก็สามารถซื้อหย่าจากสามีได้...ส่วนเรืองการแต่งกายอิสลามจะแก้ปัญหา ต่างๆที่ต้นปัญหา จึงให้ผู้หญิงและผู้ชายปิดเท่าทีจะส่อไปในทางความชั่วด้านจิตใจและอารมณ์ ด้านจิตใจได้มาจากการมองสรีระของเพศตรงข้ามซึ่งสรีระของผู้ชายทีมองแล้วเกิด อารมณ์ก็มี แต่มีน้อยกว่าผู้หญิง ในเรืองการศึกษาอิสลามไม่ได้ห้ามไม่ให้ผู้หญิงศึกษาแต่อิสลามกลับส่งเสริม ให้ทุกคนศึกษาหาความรู้โดยเฉพาะความรู้ด้านศาสนา จำเป็นที่จะต้องศึกษาให้รู้และเข้าใจในทุกด้าน การลงโทษประหารชีวิตพวกรักร่วมเพศ อิสลามเป็นศาสนาที่ให้มนุษย์ดำรงไว้ซึ่งความเป็นคนแต่ในเรื่องนี้ขนาดสัตว์ ยังไม่ทำรักร่วมเพศเลย และผู้ที่ทำประเวณีนอกสมรสสำหรับผู้ที่ผ่านการแต่งงานมาแล้วนั้นเป็นการ กระทำที่ชั่วช้าอย่างยิ่งเพราะอิสลามไม่ได้ห้ามเรื่องการแต่งงานหลายคน แต่ห้ามมิให้มีเมียน้อยเมียเก็บจะต้องสมรสและไม่เกิน 4 คน ส่วนการร่วมประเวณีกับเพศเดียวกันเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจอย่างยิ่ง และผู้ชายนั้นถูกสร้างมาให้คู่กันกับผู้หญิง เพราะฉะนั้นผู้ใดกระทำอย่างนี้ก็เหมือนท้าทายบทบัญญัติของพระเจ้า มันไม่ใช่สิทธิมนุษยชน

หมายเหตุ

ในศาสนาอิสลามนั้นไม่มีคำว่า นิกาย แต่จะใช้คำว่า มัซฮับ แทน (แปลว่า แนวทาง) เนื่องจากแนวทางในแต่ละแนวทางไม่ได้แตกต่างกันมากนักและเป็นสิงที่ศาสนะทูต เคยกระทำไว้ทั้งสิ้น..มันเป็นวิทยปัญาที่ว่าจะมีคนกระทำแบบอย่างของท่านทุก แบบอย่างจนถึงวันสิ้นโลก[1]

แหล่งข้อมูลอื่น



ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาของพระเจ้า (อัลลอฮ์), ศาสนาอิสลามไม่มีศาสดาผู้ซึ่งตั้งบัญญัติศาสนาขึ้นมาจากความนึกคิดของตนเอง, ศาสนาอิสลาม มีศาสนทูต คือ รอซูล ศาสนาอิสลาม มีรอซูลเป็นจำนวนหลายท่าน ที่เป็นผู้นำ ข่าวสาร ของพระเจ้ามาสู่มวลมนุษย์, ข่าวสารที่สำคัญที่รอซุ,ทุกๆท่านนำมาคือ..

اللّهُ لا إِلَـهَ إِلاَّ هُوَ الْحَيُّ الْقَيُّومُ


ความหมายเป็นภาษาไทยว่า, “พระเจ้าพระองค์เดียวเท่านั้น(อัลลอฮ์), ไม่มีบุคคลอื่นใด(หรือสิ่งอื่นใด) ที่สมควรเป็นที่เคารพสักการะ นอกจากพระองค์(อัลลอฮ์) เท่านั้น, ผู้ทรงมีชีวิตอยู่ ชั่วนิรันดร์, ไม่สิ้นสุด, คงอยู่ชั่วกัลปาวสาน.

ท่านรอซูลทุกๆท่าน เป็นผู้ที่มีศรัทธาต่อ พระโองการ ที่ไดถูกประทานมาจากพระองค์อัลลอฮ์, และมุสลิมหรือผู้ที่ยอมตน สวามิภักดิ์ต่อพระประสงค์ของพระเจ้า ก็มีศรัทธาต่อ อัลลอฮ์, ต่อ มาลาอิกะห์ บรรดาคัมภีร์ และบรรดารอซูล ของพระองค์ (2:285) ศาสนทูตมูฮัมมัด หรือ ท่าน รอซูลมูฮัมมัด เป็น รอซูลท่านสุดท้าย ผู้ซึ่ง รับบัญญัติของพระองค์อัลลอฮ์ หรือ คัมภีร์ เล่มสุดท้าย “อัลกุรอาน”

ศาสนาอิสลามห้ามการแบ่งแยกศาสนาออกเป็นนิกายต่างๆ ดังจะเห็นได้จากบัญญัติ ในอัลกุรอานต่อไปนี้

ซูเราะฮฺ อัล-อันอาม อายะ159

“อย่างแน่แท้, เขาผู้ซึ่ง แบ่งแยกศาสนาและทำให้แตกออกเป็นนิกายต่างๆ, เจ้า(มูฮัมมัด) ไม่มีส่วนเกี่ยวของกับพวกเขาแม้แต่เพียงน้อยเดียว....” (6:159)

และในซูเราะฮฺ อัรฺรูม อายะ 31-32

“และจงอย่าอยู่ในหมู่ผู้ตั้งภาคีผู้ซึ่งแบ่งแยกศาสนาออกเป็นนิกาย, ซึ่งแต่ละนิกายก็พอใจชื่นชมกับสิ่งที่เขามีอยู่ (ยึดมั่น)” (30: 31-32)


ความหมายของคำว่า “นิกาย” :

นิกาย คือ กลุ่มผู้ถือศาสนา ที่แยกออกมาจาก ศาสนาใหญ่หลัก, มีความเชื่อพื้นฐานและหลักการ เช่นเดียว กับ ศาสนาหลัก แต่เพิ่มเติมกฎข้อบังคับต่างๆ นอกเหนือ ไปจาก หลักการที่กำหนด ไว้ ในศาสนาหลัก ซึ่งทำให้แตกต่างออกไปจาก หลักการ ของศาสนาที่แท้จริง


คำว่า “ มัซฮับ” ในศาสนาอิสลาม ได้แก่กลุ่มของผู้ที่มีแนวการวิเคราะห์ กฎบัญญัติในอัลกุรอาน เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ของอิมามผู้นำ กลุ่ม การตัดสิน และ การแปลกฎบัญญัติทางศาสนาโดยท่านอีมาม, แล้วนำกฎบัญญัตินั้นขึ้นมาบังคับใช้ภายในกลุ่มของอีมามนั้นๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มเติม ข้อบังคับใหม่ขึ้นมาจาก ศาสนาหลัก, แต่พื้นฐานการอี มาน และพื้น ฐาน การปฏิบัติ ของพวกเขาไม่แตกต่างไปจากคำสอนในศาสนาหลัก


จากความหมาย ของ คำว่า “นิกาย” และ “ มัซฮับ” จะเห็นว่า มีความหมายเช่นกัน คือ กลุ่มของผู้ต่อเติม บัญญัติใหม่ หรือแนวความคิด นอกเหนือ ไปจากที่ อัลลอฮ์และท่านรอซูลมูฮัมมัดสอนไว้ นั้นก็คือ “อัลกุรอาน”


ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า หลังจากท่าน รอซูลสิ้นชีวิตไปแล้ว ศาสนาอิสลาม ก็มีการ แตกแยก ออก เป็น นิกาย ต่างๆ ทั้ง ใหญ่และเล็ก นิกาย ใหญ่ๆ ที่ แตกแยกและ เห็นได้ชัด คือ นิกายซุนนีย์ และ นิกายชีอะห์ นอกจาก นั้น ในกลุ่ม นิกาย ซุนนีย์ นี้ ยัง มี นิกายย่อยๆ อีก แต่เพื่อจะหลีกเลี่ยง การใช้คำว่า “นิกาย” เขากลับเรียก ว่า “ มัซฮับ” ได้แก่กลุ่มของผู้ที่มีแนวการวิเคราะห์ ปัญหา เพื่อตั้งเป็นกฎบัญญัติ ตามความเห็นของตัวผู้นำเอง ซึ่งไม่ได้แตกต่างไปจาก ความหมายของคำว่า นิกายเลย, นิกายชีอะห์ ก็ แตก ออก เป็น“ มัซฮับ” หรือ นิกายย่อยๆอีกเช่น กัน


ซุนนีย์มุสลิม, ชีอะหฺมุสลิม, มัซฮับฮานาฟี, มัซฮับซาฟีอี รวมทั้ง มัซฮับ อื่นๆ ทางฝ่ายชีอะหฺ์ด้วย, เหล่านี้ คือนิกายของศาสนาอิสลามทั้งนั้น แล้วอะไรเล่าที่เป็น หลักการของอิสลามอย่างแท้จริง และเป็นหลักการศาสนาที่เป็นพื้นฐาน ของนิกาย เหล่านี้


ตามที่กล่าวแล้วว่า อัลลอฮ์ และท่านรอซูล ประณาม การที่มุสลิมแตกแยก ออกเป็น นิกาย ต่างๆ ไม่ว่า จะเป็นซุนนีย์ , ชีอะหฺ, และ มัซฮับ ใดๆ ก็ตาม ทั้งของ ซุนนีย์ , ชีอะหฺ์

“ศาสนา ที่อัลลอฮ์ทรง ได้ประทานให้มุสลิมคือ “อิสลาม” ที่หมายถึง “การยอมจำนนและสวามิภักดิ์ ต่อพระประสงค์ของพระองค์อัลลอฮ์” (3:19) และผู้ใดก็ตามที่ปรารถนาที่จะนับถือศาสนาอื่นนอกจากอิสลามแล้ว พระองค์อัลลอฮ์ จะไม่ยอมรับ และในวันตัดสินเขาผู้นั้นจะเป็นผู้สูญเสีย (ความดีทางความศรัทธาของเขา) (3:85)


โดยพระประสงค์ของพระองค์อัลลอฮ์พระองค์ผู้ทรงประทาน บัญญัติฉบับสุดท้าย “อัลกุรอาน” ให้แก่มวลมนุษย์ สิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัด ในอัลกุรอานคือ พระองค์อัลลอฮ์ เรียกร้อง ให้ ผู้ศรัทธาต่อพระองค์ มีความสามัคคีกัน มีความเป็นอันหนึ่ง อันเดียวกัน และเตือนผู้ศรัทธาอยู่เสมอว่า รอซูล ทุกๆ ท่านของพระองค์ ไม่มีความแตกต่างกัน ในความ สำคัญ


วัตุประสงค์ ของ มุสลิม ในการสักการบูชา อยู่ที่พระองค์อัลลอฮ์ ซึ่งเป็น พระเจ้าองค์ เดียว เท่านั้น ดังนั้น ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของผู้ศรัทธาจึงต้องเป็น เอกฉันท์ ในท่ามกลางของผู้ที่มีศรัทธาต่อพระองค์, สิ่งที่ทำให้ มนุษย์ หันเหไปจาก การยึดมั่นในพระองค์อัลลอฮ์ นั้น, เกิดจาก หัวใจมนุษย์ ที่รักใคร่ ลุ่มหลง ใน ตัว บุคคล จนลืม พระเจ้า และหันเหออกนอกทางของพระองค์อัลลอฮ์ (อัลกุรอาน) หันไป ยึดตัวบุคคลเป็นหลัก และทำให้เกิดการ แบ่งแยก, อิจฉาริษยา, มีความขมขื่น และ เกลียดชัง ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้ เพราะว่าเขา เหล่านั้น ต่าง ก็ ยึดมั่น และพอใจ ในสิ่งที่เขาตั้งขึ้นเป็นภาคี (30: 31-32)


ผู้ศรัทธาที่ได้รับแนวทางที่เที่ยงตรงจากพระองค์อัลลอฮ์ จะอุทิศตน เพื่อพระองค์อัลลอฮ์เท่านั้น, และจะสามัคคี,ชื่นชมอยู่ ในบรรดาผู้ที่เคารพบูชาและ สักการ ต่อพระองค์อัลลอฮ์ ด้วยกันเท่านั้น โดยที่ไม่จำเป็นจะต้องสังกัด อยู่ในชื่อกลุ่มของผู้ศรัทธา หรือ นิกาย ใดๆ, พระองค์อัลลอฮ์ทรงบัญญัติไว้ว่า.. (2:62, 5:69)


“อย่างแท้จริง, บรรดาผู้ที่มีศรัทธา, บรรดาผู้เป็นชาว ยิว, เป็นชาวคริสเตียน, และผู้ที่กลับใจได้, ผู้ใดก็ตาม ที่มีศรัทธาต่อ พระเจ้าองค์เดียว (อัลลอฮ์), มีความเชื่อใน วันกิยามะห์(วันสิ้นโลก), และ ผู้ที่ใช้ชีวิตอยู่ในทำนองครองธรรม(ตามวิถีทางของ อัลลอฮ์), เขาเหล่านั้นจะได้รับความกรุณาปราณี จากพระองค์อัลลอฮ์, เขาเหล่านั้นไม่มีสิ่งใดจะต้องเกรงกลัว หรือจะต้องโศกเศร้า เสียใจ”
จากอายาตทั้งสองนี้ เราจะเห็นว่า การนับถือ ศาสนาอิสลาม นั้น ง่ายมาก คือ ไม่ว่าผู้ใดก็ตาม ที่มีความเชื่อมั่น ใน พระองค์ อัลลอฮ์, ใช้ชีวิตตามวิถีทางที่เที่ยงตรง ที่พระองค์ ทรงบัญญัติไว้ (อัลกุรอาน) รวมทั้ง การเชื่อฟังคำสั่งสอนของ ท่านรอซูล(ศล) ที่กล่าวไว้ในอัลกุรอาน คือ “การทำละหมาด, การจ่ายซะกาต, การถือศีลอด และการทำฮัจจ์, เขาเหล่านั้น คือ “มุสลิม” หรือผู้ที่ถือศาสนาอิสลามที่แท้จริง


ถ้าบรรดา ผู้ที่เรียกตัวเองว่า “มุสลิม” แต่ต่าง ฝ่ายต่างกลุ่ม ต่างยึดถือตัวบุคคล นอกเหนือไปจาก “อัลลอฮ์” และ ยึดถือ สิ่งประดิษฐ์ ที่เขาสร้างขึ้นมา เป็นแนวทางปฏิบัติศาสนกิจนอกเหนือไปจาก “อัลกุรอาน”, เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว เขาเหล่านั้น จะไม่แตกต่างกันเลย, เพราะว่าเขาขาด ความสามัคคีและความ เป็นอันหนึ่งอันเดียว กัน ในความเป็นพี่น้อง “มุสลิม” เพราะ เขาเหล่านั้น ได้ แบ่งแยกศาสนาของพระองค์อัลลอฮ์ เป็นการไม่ปฏิบัติตาม พระประสงค์ ของพระองค์ และ คำสอนของท่าน รอซูลมูฮัมมัด


เรื่องนี้ขอจบลงด้วย ซูเราะฮฺ อาละอิมรอน อายะ3 ความว่า


“และพวกเจ้าทั้งหลายจงยึดมั่นอยู่กับสายเชือกของอัลลอฮ์, (อัลกุรอาน), และจงอย่าแตกแยกกันในระหว่างพวกเจ้า,และจงจำไว้ว่า, ด้วยพระมหากรุณาของพระองค์อัลลอฮ์ต่อพวกเจ้าในขณะ
ที่พวกเจ้า เป็นศัตรูกัน, พระองค์ได้รวมจิตใจของพวก เจ้า, ด้วยพระมหากรุณาของพระองค์ พวกเจ้าได้กลับกลายมาเป็นเช่นพี่น้องกัน, และเมื่อเจ้าเจียนจะอยู่ในไฟนรก, และพระองค์ ก็ทรงช่วยพวก เจ้าให้รอดพ้นจากไฟนรกนั้น, เมื่อเป็นเช่นนั้นแล้ว พระองค์อัลลอฮ์ ได้ส่งข่าวสาร (อัลกุรอาน) ให้เพวกเจ้าอย่างแจ้งชัด แล้ว เพื่อ พวกเจ้าจะได้ ปฏิบัติตามหนทางที่ถูกต้อง”


ซูเราะฮฺ อาละอิมรอน อายะ3... นี้เตือนใจพี่น้องมุสลิมทั้งหลายที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างในเรื่องของความ ศรัทธาต่อ ศาสนาอิสลาม และวิธีการปฏิบัติศาสนากิจ, จงรำลึกถึงพระมหากรุณาของพระองค์อัลลอฮ์ที่ประทาน อัลกุรอานให้เรายึดเป็นแนวทาง ในการดำเนินชีวิต ที่เที่ยงตรง เพื่อให้ มีความ สามัคคีกัน เช่นพี่น้อง เมื่อเป็นเช่นนี้ แล้ว มุสลิม จะได้ มีความ แข็งแกร่ง และกลับ เป็น ผู้ นำประชาชาติอีกครั้งหนึ่ง


พระองค์อัลลอฮ์ ได้วางบรรทัดฐาน ของความ ศรัทธา ไว้ให้เราแล้วใน “อัลกุรอาน” ขอให้เรายึดมั่น ในสาย เชือกเส้นนี้ ซึ่งเป็น สายเชือก เส้นเดียว กับที่ท่าน รอซูล มูฮัมมัด ยึดถืออย่างมั่นคง และท่านได้ประกาศชักชวนให้มุสลิมทุกๆคนปฏิบัติตามท่าน (6:114) คือ ยึดมั่นอยู่กับ สายเชือกเส้นเดียวกับท่าน นั้นก็คือสายเชือก ของ อัลลอฮ์ หรือ “อัลกุรอาน” นั้นเอง


มุฮัรรอม ศักราชใหม่ 1430

ภาพยนตร์อิสลาม "เชลยแห่งศักดิ์ศรี"ที่คุณไม่ควรพลาดในเทศกาลอาชูรออ์

เดือนมุฮัรรอม เดือนแรกของศักราชอิสลามมาถึงแล้ว มุฮัรรอมเป็นเดือนที่ชาวมุสลิมไม่นิยมจัดพิธีแต่งงาน หรือทำบุญขึ้นบ้าน เพราะรอมะฏอนผูกพันกับโศกนาฏกรรมกัรบะลาอ์ เมื่ออิมามฮุเซน หลานตาศาสนทูตมุฮัมมัดถูกกองทัพของยะซีด บุตรมุอาวิยะหฺ หลานอะบูสุฟยาน จากซีเรียเข้าเข่นฆ่าสังหารท่าน และญาติพี่น้องของท่าน ที่เหลือก็จับเป็นเชลยไปดามัสคัส

วันอาชูรออ์เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก อันเป็นงานที่จัดขึ้นมาเพื่อไว้อาลัยอิมามฮุเซน บ้างก็จัดตั้งแต่วันที่ 1 จนถึงวันที่ 10 บ้างก็จัดแค่สองสามวันสุดท้าย คือ 8,9 และ 10

งานไว้อาลัยอาชูรออ์มีรูปแบบที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับท้องถิ่นและความเชื่อ บ้างก็มีจัดงานที่เกินเลยขอบเขตที่อิสลามอนุมัติ ซึ่งแน่นอนถือว่าเป็นบิดอะหฺ บ้างก็จัดในรูปแบบที่ดีมีการอ่านดุอาอ์ มีการเล่าประวัติของอิมามที่เสียชีวิตในสมรภูมิ แต่ละงานจะมีผู้ทำบุญด้วยการนำอาหารไปเลี้ยงผู้คน บ้างก็จัดงานโดยไม่รู้ประวัติความเป็นมาของงานด้วยซ้ำไป เช่น การจัดงานทำบูโบซูรออันเป็นเอกลักษณ์ของมุสลิมในเอเชียอาคเณย์

ดูภาพยนตร์ "เชลยแห่งศักดิ์ศรี" ใน Youtube


สลามัตฮารีรายากุรบ่าน (สุขสันต์อีดุลอัฏฮา)

วันจันทร์ ที่ 8 ธันวาคม 2008 ตรงกับวันที่ ซุลฮิจญะหฺ ฮ.ศ. 1429 เป็นวันอีดุลอัฎฮา เมื่อวานเหล่าผู้บำเพ็ญฮัจญ์ได้ไปชุมนุมกันที่ทุ่งอารอฟะหฺ เมื่อคืนพวกเขาได้ผ่านไปยังทุ่งมุซดะลีฟะหฺ ก่อนที่จะเข้ามีนา เพื่อทำการขว้างเสาหิน และทำกุรบาน ที่มีนา (เชือดสัตว์พลี) และโกนหัว ก่อนที่จะกลับไปฏอวาฟ ที่บัยตุลลอหฺ ในอัลมัสญิด อัลฮะรอม และกลับมาพำนักที่มีนาอีกครั้งอีกสองวัน

เนื่องในวันอีดุลอัฎฮานี้ ขอดุอาอ์ให้อัลลอหฺประทานฮิดายะหฺและเตาฟีกต่อท่านทุกคน ทุก ๆ ปีขอให้ท่านมีความสุข ความเจริญ


ฮัจญ์

การประกอบพิธีฮัจญ์ หรือ การทำฮัจญ์ จากภาษาอาหรับ: حج /ฮัจญ์/ การสะกดไม่มาตรฐาน: ฮัจย์

คือการเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจที่นครมักกะหฺในเดือนซุลฮิจญะหฺ ตามวันเวลา และสถานที่ต่าง ๆ ที่ทางศาสนาอิสลามกำหนด ไว้ ซึ่งศาสนกิจข้อนี้เป็นหน้าที่สำหรับมุสลิมทั้งชายและหญิง ทุกคนที่มีความสามารถในด้านร่างกาย ทรัพย์สิน และการเดินทาง ที่จะต้องปฏิบัติ เรียกผู้ทำพิธีฮัจญ์ว่า ฮาจญ์

การประกอบพิธีฮัจญ์

ในช่วงฮัจญ์ ชาวมุสลิมทั่วโลกจะเดินทางเข้าสู่อารเบีย โดยก่อนอื่นจะมีการทำ อิฮฺรอม นั่นคือการตั้งใจว่าจะทำพิธีฮัจญ์ ก่อนการเข้าไปในแผ่นดินฮะรอม (แผ่นดินต้องห้าม) โดยจะปฏิบัติตามกฏของฮัจญ์ อาทิเช่น การไม่สมสู่ การไม่ล่าสัตว์ในแผ่นดินฮะรอม การไม่ตัดเล็บหรือผม การไม่เสริมสวยหรือใช้น้ำหอม ผู้ชายจะเปลี่ยนเครื่องแต่งกาย มาสวมผ้าเพียงสองผืน ที่ปราศจากรอยเย็บ แล้วต่างก็จะมาชุมนุมกันที่ ทุ่งอะร่อฟะหฺ ในตอนเช้าตรู่ของวันที่ 9 ของเดือนซุลฮิจญะหฺ

แล้วพอตกค่ำ ซึ่งตามปฏิทินฮิจญ์เราะหฺจะเป็นคืนที่สิบ เหล่านักแสวงบุญจะเดินทางผ่าน ทุ่งมุซดะลิฟะหฺ พักชั่วครู่หนึ่งก่อนที่จะมุ่งหน้าสู่ ทุ่งมินา ก่อนเที่ยงของวันต่อไป

บรรดาผู้ประกอบพิธีฮัจญ์กำลังมุ่งหน้าสู่มุซดะลิฟะหฺ
บรรดาผู้ประกอบพิธีฮัจญ์กำลังมุ่งหน้าสู่มุซดะลิฟะหฺ

ส่วนชาวมุสลิมทั่วโลกที่ไม่ได้ไปประกอบพิธีฮัจญ์ก็จะเฉลิมฉลองทำบุญเลี้ยงอาหารที่บ้าน เรียกวันนี้ว่าวันอีดุลอัฎฮา ทีเรียกว่าอัฎฮาเพราะมีการเชือดสัตว์พลีให้ผู้คนรับประทานในยามดุฮา คือยามสายหลังตะวันขึ้น แต่ก่อนเที่ยง หรือชาวไทยเชื้อสายมลายูในห้าจังหวัดภาคใต้เรียกว่าวันรายอ (รายาฮาญี) ซึ่งแปลเป็นไทยตามตรงก็คือ วันใหญ่ นั่นเอง

บรรดาผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ในมินา
บรรดาผู้ประกอบพิธีฮัจญ์ในมินา

นักแสวงบุญจะพักอยู่ที่ ทุ่งมินา เป็นเวลาสามวัน เพื่อขอพรและบำเพ็ญตนตามพิธีฮัจญ์ หลังจากนั้นจึงเดินทางเข้ากรุงมักกะหฺ เพื่อฏอวาฟเวียนรอบ กะอฺบะหฺ หรือที่เรียกว่า บัยตุลลอหฺ อันเป็นเสมือนเสาหลักของชุมทิศ ซึ่งตั้งอยู่ใน มัสญิด ฮะรอม (มัสยิดต้องห้าม) หลังจากนั้นผู้แสวงบุญก็จะเดินจากเนินเขาศอฟา สู่เนินเขามัรวะหฺ ซึ่งมีระยะทาง ๔๕๐ เมตร ไปมาจนครบเจ็ดเที่ยว ระหว่างที่เดินก็จะกล่าวคำขอพรและคำวิงวอนต่อพระผู้เป็นเจ้า เมื่อเสร็จพิธีนี้แล้วก็จะขริบผมหรือโกนหัว และผู้แสวงบุญก็จะหลุดพ้นจากภาวะ อิฮฺรอม

ประวัติความเป็นมาของฮัจญ์

การทำฮัจญ์เป็นพิธีกรรม ทางศาสนาที่เก่าแก่ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยศาสดาอิบรอฮีม การทำฮัจญ์เริ่มต้นขึ้นเมื่ออัลลอหฺได้บัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีม และศาสดาอิสมาอีล ผู้เป็นลูกชายร่วมกันสร้าง บัยตุลลอหฺ ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับการเคารพบูชาอัลลอฮ เมื่อสร้างเสร็จแล้ว พระองค์ก็ทรงบัญชาให้ศาสดาอิบรอฮีม เรียกร้องให้มนุษย์ชาติมาร่วมกันแสดงความจงรักภักดีต่อพระองค์ เมื่อกาลเวลาผ่านไป ชนรุ่นหลังได้อุตริรูปแบบการทำฮัจญ์ จนมันได้เปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเดิมที่อัลลอหฺได้ทรงกำหนดไว้ เช่น มีการนำ เทวรูปต่าง ๆ มาตั้งรอบ ๆ กะอฺบะหฺ เพื่อบูชาในระหว่างการทำฮัจญ์ และมีการเปลือยกายในยามทำพิธีฏอวาฟ พร้อมกับกู่ร้องและปรบมือ

จนกระทั่ง มาถึงสมัยของศาสดามุฮัมมัด สิ่งแรกที่ท่านปฏิบัติก็คือการทุบทำลายเทวรูปและเจว็ดรอบข้างกะอฺบะหฺจนหมด สิ้น และท่านก็ได้แสดงแบบอย่างของการทำฮัจญ์ที่ถูกต้องให้บรรดาผู้ศรัทธาได้ ปฏิบัติสืบทอดกันมาจนถึงวันนี้


ซัมซัม

ซัมซัม ภาษาอาหรับ: زمزم ภาษาอังกฤษ: Zamzam

เป็นชื่อน้ำจากบ่อน้ำแร่ที่อยู่ทางทิศตะวันออกของกะอฺบะหฺราว 20 เมตร ตั้งอยู่ใจ กลางอัลมัสญิด อัลฮะรอม ในมักกะหฺ มีมาก่อนนบีมุฮัมมัด ชาวมุสลิมถือว่าเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์

บ่อน้ำซัมซัมในอดีตที่ผู้ดื่มต้องตักน้ำด้วยถัง
บ่อน้ำซัมซัมในอดีตที่ผู้ดื่มต้องตักน้ำด้วยถัง

บ่อน้ำซัมซัม

บ่อน้ำซัมซัมถูกย้ายให้อยู่ใต้ลานฏอวาฟ ผู้ที่ต้องการเอาน้ำ ต้องลงบันไดไปชั้นล่าง
บ่อน้ำซัมซัมถูกย้ายให้อยู่ใต้ลานฏอวาฟ ผู้ที่ต้องการเอาน้ำ ต้องลงบันไดไปชั้นล่าง

เป็นบ่อน้ำที่มีความลึกราว 30 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 1.08 และ 2.66 เมตร ที่มีตาน้ำไหลแรง มีระดับน้ำ 3.23 เมตรใต้ระดับพื้นดิน ได้มีการทดลองดูดน้ำซัมซัมออกจากบ่อด้วยปั๊มน้ำที่มีความแรง 8000 ลิตรต่อวินาที เป็นเวลามากกว่า 24 ชม. ปรากฏว่าน้ำได้ลดลง 12.72 ใต้ระดับพื้นดิน เมื่อเพิ่มเวลาดูดน้ำออกอีกไปอีก ปรากฏว่าน้ำในบ่อลดเหลือ 13.39 เมตรใต้ระดับพื้นดิน และก็ไม่ลดอีกเลย แม้จะดูดน้ำออกตลอดเวลาก็ตาม เมื่อปั๊มน้ำหยุดทำงาน น้ำในบ่อก็เอ่อขึ้นสู่ระดับปกติภายในเวลาเพียงแค่ 11 นาทีเท่านั้น ซ๊่งหมายความว่า รอบ ๆ ข้างบ่อมีชั้นหินอุ้มน้ำ (aquifer) ที่มีน้ำสำรองมากมายไม่มีวันเหือดแห้ง ไม่เคยปรากฏในประวัติศาสตร์ว่าบ่อน้ำซัมซัมเคยแห้งเลย และเพียงพอสำหรับผู้คนเป็นล้านที่มาดื่มและอาบ ไม่ว่าจะเป็นฤดูไหนก็ตาม


บ่อน้ำซัมซัมในปัจจุบันถูกปิดไว้ในห้องกระจกในห้องใต้ดิน ไม่ให้ผู้คนทั่วไปเข้าไปตักน้ำเหมือนแต่ก่อน น้ำซัมซัมถูกสูบออกมานอกมัสญิด เพื่อให้ผู้คนได้บรรจุภาชนะพากลับไปตามที่ต้องการ เจ้าหน้าที่จะบรรจุน้ำในคูลเลอร์ให้ผู้คนในอัลมัสญิด อัลฮะรอมได้ดื่มตลอดเวลา นอกจากนี้ยังขนส่งไปยังอัลมัสยิด อัลนะบะวีย์ ในมะดีนะหฺอีกด้วย

น้ำซัมซัมเป็นน้ำแร่ ที่ประกอบด้วยแคลเซียม แมกเนเซียม คลอไรด์ ซัลเฟต ไนเตรท โซเดียม และโปตัสเซียม มีค่า pH เท่ากับ 7.8 - 8 ค่อนค่างจะเป็นเบส รสชาติของซัมซัมเหมือนน้ำผสมเกลืออ่อน ๆ

บ่อน้ำซัมซัมปัจจุบันในห้องใต้ดินในห้องกระจก
บ่อน้ำซัมซัมปัจจุบันในห้องใต้ดินในห้องกระจก

ประวัติของบ่อน้ำซัมซัม

เมื่อนางฮาญัร ภรรยาคนที่สองของนบีอิบรอฮีมถูกทอดทิ้งที่กลางทะเลทราย ณ บัยตุลลอหฺ ท่ามกลางที่ราบต่ำแห่งมักกะหฺ ซึ่งไม่มีต้นไม้และน้ำ นางจึงทิ้งอิสมาอีล บุตรชายที่กำลังกระหายน้ำบนพื้นดิน ข้างหน้าบัยตุลลอหฺ ที่สร้างโดยอาดัม และวิ่งเสาะหาน้ำระหว่างเนินเขาศอฟาและมัรวะหฺ อิสมาอีลที่กำลังกระหายน้ำอย่างจัดนั้นก็ร้องไห้ เท้าก็ดันพื้นจนเป็นร่อง สักครู่ก็มีตาน้ำไหลออกมา เมื่อนางฮาญัรกลับมาดูลูก ก็เห็นว่าบุตรชายตัวน้อย ๆ ของตนกำลังก่อทรายกั้นน้ำไม่ให้ไหลไปทางอื่น ปากก็กล่าวว่า ซัมซัม ซัมซัม แปลว่า ล้อม ๆ ล้อม ๆ ตั้งแต่นั้นมาก็มีชาวอาหรับทราบข่าวของตาน้ำ ที่กลายเป็นบ่อน้ำที่มีน้ำมหาศาล ก็พาปักหลักที่นั่นจนแผ่นดินแห่งบักกะหฺ (ชื่อเดิมของมักกะหฺ)ได้กลายเป็นเมือง และเป็นศูนย์กลางของอารเบีย

ต่อมาตระกูลญุรหุมแห่งเผ่าเกาะฮ์ฏอนถูกเผ่าคุซาอะหฺขับไล่ออกจากมัก กะหฺ พวกเขาจึงเก็บทรัพย์สิน อีกทั้งยังทำลายบ่อน้ำซัมซัมด้วยการเอาดินถมปิดบ่อ ก่อนที่จะอพยพออกจากเมืองมักกะหฺ เมื่อบ่อน้ำถูกดินกลบมาเป็นเวลาหลายร้อยปี ผู้คนก็ไม่รู้สถานที่อันเป็นที่ตั้งของบ่อน้ำซัมซัมอีกต่อไป ครั้งหนึ่งอับดุลมุฏฏอลิบ ปู่ของนบีมุฮัมมัด ฝันเห็นตำแหน่งของบ่อน้ำซัมซัม จึงชวนลูกชายชื่อฮาริษไปขุด ก็พบกับตาน้ำซัมซัม อับดุลมุฏฏอลิบจึงได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าของบ่อน้ำซัมซัมตั้งแต่นั้นมา

ความสำคัญของน้ำซัมซัมในอิสลาม

น้ำซัมซัมนอกจากจะมีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์แล้ว ยังถือว่าเป็นน้ำที่มีความศักดิ์สิทธิ์และความเป็นมงคล ผู้คนจากทุกสารทิศจะบรรจุน้ำซัมซัมเพื่อพากลับไปยังประเทศของตน เพื่อเป็นของขวัญแก่ญาติพี่น้อง มีรายงานจากนบีมุฮัมมัดว่า น้ำซัมซัมเป็นยารักษาโรคภัยไข้เจ็บได้

กฏหมายบางประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกาได้ออกกฏหมายยกเว้น อนุมัติให้พวกฮุจญาตพาน้ำซัมซัมเข้าประเทศได้


ธุรกิจน้ำซัมซัม

ประเทศซาอุดีอาระเบียมีกฏบัญญัติห้ามไม่ให้ซื้อขายน้ำซัมซัม หรือส่งออกต่างประเทศเป็นสินค้า อย่างไรก็ตามก็ยังมีพ่อค้าที่ขนน้ำซัมซัมไปขายต่างประเทศ


พีรี ระอีส นักวาดแผนที่มุสลิม

พีรี ระอีส ผู้แต่งหนังสือ กิตาบบะฮฺรียะหฺ




นก

นก จัดเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังชนิดหนึ่งซึ่งอยู่ในชั้น Aves (คำว่า Aves เป็นภาษาละติน หมายถึง นก) โดยมีลักษณะทั่วไปคือ เป็นสัตว์ทวิบาท ลือดอุ่น ออกลูกเป็นไข่ รยางค์คู่หน้า เปลี่ยนแปลงไปเป็นปีก มีขนนก และมีกระดูกที่กลวงเบา

ในปัจจุบันทั่วโลกมีนกอยู่ประมาณ 8,800 ถึง 9,800 ชนิด (ตามการจัดอนุกรมวิธานที่ต่างกัน) ซึ่งนับว่านกเป็นชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีความหลากหลายมากที่สุด ในบรรดาชั้นของสัตว์มีกระดูกสันหลังทั้งหลายที่อาศัยอยู่บนพื้นดิน ความหลากหลายของนกนับเนื่องไปตั้งแต่ในเรื่องของขนาดตัว สีสัน เสียงร้อง อาหารการกิน และถิ่นที่อยู่อาศัย

นกเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอันมากทั้งต่อระบบนิเวศและต่อชีวิต มนุษย์ ความสัมพันธ์ระหว่างคนกับนกเป็นไปอย่างแน่นแฟ้น และการเกื้อกูลกันระหว่างนกกับสรรพสิ่งต่าง ๆ ตามธรรมชาติก็เป็นไปอย่างแนบแน่น

นก ความหัศจรรย์ของการสร้างแห่งพระผู้เป็นเจ้า

อัลลอหฺพระผู้เป็นเจ้าได้บัญชาให้มนุษย์ไตร่ตรอง เรื่องการสร้างของพระองค์ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าพระองค์ทรงมีอยู่จริง พระองค์ทรงยกเอานกและการบินของนกเป็นอุทาหรณ์ที่บ่งบอกถึงการสร้างของพระ ผู้ทรงมีความสามารถ เป็นหลักฐานที่บ่งบอกแน่ชัดว่า นกไม่ได้มาจากปลาที่พัฒนาปีกของตนขึ้นมาเองแล้วบินไปในท้องฟ้าอย่างที่พวก ดาร์วินิสต์เชื่อกัน

”พวกเขาไม่ได้เห็นนกที่อยู่เบื้องบนพวกเขาดอกหรือ? พวกมันกางปีกและหุบปีก ไม่มีผู้ใดจะจับดึงพวกมันได้ นอกจากพระผู้ทรงกรุณาปราณี แท้จริงพระองค์ทรงมองเห็นทุกสรรพสิ่ง” (อัลกุรอาน 67:19)


การบินของนกเป็นความมหัศจรรย์ที่มนุษย์ในอดีตและปัจจุบันพยายามขบคิด อยู่ตลอดเวลา ในอดีต การบินเป็นปริศนาสำหรับมนุษย์ และพวกเขาพยายามค้นหาคำตอบตลอดมา ในเวลาปัจจุบันเมื่อมนุษย์ได้ค้นพบวิธีการบินแล้ว มนุษย์ก็ยังฉงนต่อกลไกของปีกนก เพราะมนุษย์ยังไม่สามารถสร้างปีกเครื่องบินให้ได้เท่าเทียมกับปีกนกได้

ในเวลาหลายปีที่ผ่านมา มนุษย์ได้สร้างเครื่องบินและปรับปรุงปีกเครื่องบินให้ดีขึ้นโดยการศึกษาปีก ของนก ความโค้งของปีกนกทำให้เกิดแรงยกที่ต้องการเพื่อต้านแรงโน้มถ่วงที่ดึงลงมา แต่เมื่อเอียงปีกขึ้นมากเกินไป จะเกิดการติดขัดขึ้นได้ เพื่อเลี่ยงการติดขัดนี้ ที่ขอบหน้าของปีกนกจึงมีแถวขนซึ่งจะโผล่ออกเมื่อมุมเอียงของปีกมีมากขึ้น แผ่นขนเหล่านี้จะคงรักษาแรงยกไว้โดยกันไม่ให้กระแสอากาศแยกจาก พื้นผิวปีก อีกสิ่งหนึ่งที่จะควบคุมลมแปรปรวน และป้องกัน “การติดขัด” คือ ขนอะลูลา ขนนกกระจุกเล็กๆ ซึ่งนกจะกระดกขึ้นได้เหมือนนิ้วหัวแม่มือ

ตรงปลายปีกของทั้งนกและเครื่องบินจะมีกระแสอากาศวนเกิดขึ้นและทำให้เกิด แรงต้าน นกจะ ลดแรงต้านนี้โดยสองวิธี นกบางชนิด เช่น นกแอ่นและนกอัลบาทรอสมีปีกที่ยาวเรียงปลายแหลม ปีกแบบ นี้จะขจัดกระแสอากาศวนได้เกือบหมด นกชนิดอื่น เช่น เหยี่ยวตัวใหญ่และนกแร้งมีปีกกว้างซึ่งจะทำให้เกิดกระแสวนได้มาก แต่นกจะแก้ปัญหานี้ด้วยการกางขนที่ปลายปีกออกกว้างเหมือนกางนิ้วมือ โดยวิธีนี้ทำให้ปลายปีกที่ไม่แหลมกลายเป็นปลายแหลมหลาย ๆ แฉกซึ่งจะลดกระแสอากาศวนและแรงต้าน



Credit จาก : สยามิค โครงการสารานุกรมอิสลาม